วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

อยากรวย ต้องรู้ รู้จักแผนที่นำทาง


เป้าหมาย และแผนการเงินส่วนบุคคล
                  การดำเนินชีวิตในสังคมไทยของเรานั้น นับวันมีแต่ทวีความซ้อนมากขึ้น เรื่องที่คนส่วนมากคิดว่า ไกลตัว เสียเหลือเกินในยุคสมัยหนึ่ง ก็กลับกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลกับชีวิตของเรา อย่างที่ส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยคาดคิดมาก่อน
คนที่ไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต ปล่อยชีวิตให้เรื่อยเปื่อยไปตามกระแส หรือคนที่รู้แล้ว แต่ชะล่าใจ ไม่ได้คิดที่เตรียมตัวเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์
ก็จะต้องกลายเป็น กบแป๊ะ ไปในที่สุด !
วิธีเดียวที่คุณรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ก็คือ คุณจะต้องรู้จัก การวางแผนทางการเงินซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้ในแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้
                  การวางแผนการเงิน คือ การที่คุณรู้จักวางแผนในเรื่อง
                    การเงินของตัวคุณและครอบครัวอย่างเหมาะสม ซึ่ง
                    เรื่องนี้จะเชื่อมโยงกันอีกหลายประเด็น ทั้งรายได้
                    รายจ่าย การออม การลงทุน ภาษี การจัดการเรื่องหนี้
                    สิน รวมถึงการรู้จักการเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีด้วย
ถ้าคุนเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้างก็คงพอจะทราบว่า แนวโน้มหนึ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนอันเป็นผลพวงจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก็คือ เงินจะต้องมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
ตัวอย่างของพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยเรานั้น ก็มีให้เห็นมากมาย
                     —    เมื่อก่อนนี้คนไทยส่วนใหญ่เคยใช้วิธีรองน้ำฝนใส่ตุ่มเอาไว้ดื่มกินได้ตลอดปีโดยไม่ต้องเสียสตางค์ มาถึงวันนี้ เรากลับต้องซื้อน้ำเปล่าบรรจุขวดที่ราคาแพงกว่าน้ำมันมาดื่มแทน
                      —    คนสมัยนี้มีสิ้นค้าและบริการที่อำนวยความสะดวกสบายและมีกิจกรรมที่ทำนอกบ้านมากขึ้น เช่น ทำงาน กินอาหาร ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ผิดกับการใช้ชีวิตเมื่อก่อนนี้ ที่คนส่วนใหญ่เมื่อเลิกงานแล้ว ก็มักจะใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นหลัก
                        —   เดี๋ยวนี้ครอบครัวส่วนใหญ่ทั้งสามีภรรยาและลูกๆ ต่างออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ้งหนีไม่พ้นต่างคนต้องมีพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเป็นของตนเอง ( ดังที่มีผู้เปรียบเทียบว่าเดี๋ยวนี้รถยนต์มีวามสำคัญถึงขนาดยกให้เป็น ปัจจัยที่ 5” ในการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันถัดจากอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคแล้ว ) จึงเป็นเรื่องธรรมดามากที่แต่ละบ้านมีรถยนต์มากกว่าครอบครัวละ 1 คัน ผิดกับสมัยก่อนที่แทบจะนับครัวเรือนที่มีรถยนต์ได้
                          คุณจะเห็นได้ว่า เกือบทุกเรื่องหนีไม่พ้นที่เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ เงิน แทบทั้งนั้นเ
 เมื่อพูดถึงเรื่องของการวางแผนการเงิน ก่อนอื่นคุณจะต้องค้นหาความต้องการของตัวเอง และตอบกับตัวคุณเองให้ได้เสียก่อนว่า คุณมีเป้าหมายอะไร?
ถ้ามองการวางแผนการเงินอย่างเป็นธุรกิจ เราก็อาจนำเอาวิธีการต่างๆ ที่ใช้กันมากโดยเฉพาะในโลกตะวันตกในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางกิจบางอย่างประยุกต์ใช้ได้
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางแผนบางคนบอกว่า เป้าหมายที่ดีนั้นจะต้อง SMART ซึ้งอาจจะเป็นการสื่อเป็นนัยๆ ว่าการกำหนดเป้าหมายนั้น ไม่ใช่เพียงแค่วักว่าทำๆ ไปเท่านั้น แต่จะต้องกำหนดขึ้นอย่าง ชาญฉลาด ในที่นี้ ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งไปกว่าการแปลความแบบตรงตัวเช่นนั้น
ความจริงแล้ว มันคือ ลูกเล่น ที่มาจากอักษรตัวแรกที่ใช้แทนคำย่อในภาษาอังกฤษของคุณลักษณะ 5 ประการของการกำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาด ดังต่อไปนี้
                                    —     มีความชัดเจน ( Specific  )
                                     —    สามารถวัดได้( Measurable )
                                     —     มีผู้รับผิดชอบ( Accountabie)
                                     —      สามารถบรรลุผลได้( Realistic )
                                     —     มีกำหนดเวลาแน่นอน( Time Bound )
เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจะขอยกตัวอย่างให้คุณเห็นว่าเมื่อคนส่วนใหญ่ถูกตั้งคำถามว่ามีเป้าหมายอะไรบ้างในชีวิต? ก็คงจะได้คำตอบไปต่างๆ นานา
แต่คงไม่ผิดนัก ที่คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึง ความฝัน ในลักษณะที่คล้ายๆกันทำนองนี้
                                     —      อยากเรียนจบสูงๆ ได้งานดีๆ ได้เงินเดือนสูงๆ เป็นเจ้าคงนายคน
                                     —      อยากมีรถยนต์คันหรู มีบ้าน/คอนโดมิเนียมสวยๆ หรือมีบ้านหลังที่ 2 ไว้ ผักผ่อนในต่างจังหวัดสักแห่ง
                                     —      อยากมีคู่ชีวิตที่จะแต่งงานไปชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์แบบและมีความสุข
                                     —      อยากมีโอกาสเดินทางได้ไปผักผ่อน หรือไปท่องเที่ยวบ่อยๆ
                                     —       อยากส่งเสียให้ลูกๆ ได้มีการศึกษาสูงๆ และเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดีๆ
                                     —      อยากมีเงินทองมากๆ ยิ่งรวยได้ ยิ่งดี เพื่อที่จะได้เกษียณตั้งแต่อายุยังไม่มาก
                                                                      ฯลฯ
ถ้าหากพิจารนณาเพียงแค่ผิวเผิน คุณคงจะไม่เห็นว่ามีอะไรที่ผิดปกติ แต่สำหรับนักวางแผนแล้ว ถือว่าความคิดแบบนี้
ยังไม่ใช่การกำหนิดเป้าหมายอย่างชาญฉลาด!
ถ้าคุณลองสังเกตดูใหม่อีกที ก็จะเห็นได้ว่า เป้าหมายข้างต้นที่พูดถึงส่วนใหญ่นั้นยังขาดความชัดเจนในตัวเอง เพราะเป้าหมายต่างๆ ที่พูดถึงเหล่านี้ยังมีความเป็นนามธรรม อยู่สูงมาก
การกำเนิดเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอที่คุณจะแปลงมันออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถวัดได้ มิฉะนั้น เป้าหมายต่างๆ เหล่านั้นมันจะยังคงเป็นเพียง ความฝัน ที่ล่องลอยอยู่ในวิมาน ซึ่งยากจะทำให้มันกลายเป็น
ความจริง ขึ้นมาได้ เช่น
                                     —      ที่ว่าอยากมีรถยนต์คันหรูและมีบ้านสวยๆ นั้นก็ควรบอกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่น หรือแบบบ้านที่คุณได้ไปแอบด้อมๆ มองๆ เอาไว้ด้วย
                                     —      ที่ว่าอยากแต่งงานมีครอบครัวนั้นคุณควรไปถามว่าที่พ่อตาแม่ยายของคุณไว้ว่าต้องการสินสอดทองหมั้นอะไรบ้าง? จะจัดแต่งงานกันที่ไหน? อย่างไร?
                                     —       ที่บอกว่าอยากให้ลูกๆ เรียนจบสูงๆ นั้น คุณควรระบุให้ชัดเจนว่าคุณจะส่งเสียเขาไปจนจบถึงระดับปริญญาตรี โท หรือเอก รวมทั้งควรระบุด้วยว่าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน? ในประเทศหรือต่างประเทศ?
                                     —       ที่บอกว่าอยากไปท่องเที่ยวนั้น ก็ควรจะบอกให้ชัดเจนไว้เลยว่าคุณอยากจะไปเที่ยวที่ไหน?
อเมริกา ยุโรป เชียงใหม่ ภูเก็ต?
                                      —       ส่วนที่บอกว่าอยากจะเกษียนตั้งแต่อายุยังไม่มากนั้น คุณควรจะลองประมาณดูว่าครอบครัวคุณมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เดือนละเท่าได?  จะมีรายได้เพื่อให้เพียงพอใช้จ่ายจากแหล่งไหนบ้าง ? และจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไร?
เพราะถ้าหากไม่มีการระบุรายละเอียดต่างๆ ของเป้าหมายเหล่นานี้ออกมาให้ชัดเจน (Specifik) คุณคงไม่มีทางที่จะทราบได้ว่า
                                       —      การทำ ความฝัน ดังกล่าวให้เป็นจริงต้องใช้งบประมาณเท่าใด (Measurable)
                                      —      ใครที่จะเป็นคนรับผิดชอบภาระต่างๆ เหล่านี้ (Accountable)
                                       —       ความฝัน เหล่านั้นอยูในวิสัยที่จะทำให้เป็น ความจริง ได้หรือไม่? (Realistic) และที่สำคัญที่สุด คือ
                                       —       คุณต้องระบุเงื่อนเวลาที่แน่นอนไว้ด้วยว่า อยากให้ ความฝัน ต่างๆ
เหล่านั้นเป็น ความจริง เมื่อไร? (Time Bound)
ความจริงแล้ว ทุกคนต่างมีความฝันทำนองนี้ด้วยกันทั้งนั้น แต่สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสารความฝันของตนเองให้กลายเป็นจริงได้ก็เพราะ
นิสัยที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งนั้นเอง!
เมื่อกลางปี 2546 รัฐบาลไทยเชิญศาสตราจารย์ Michael E.  Porter ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกด้านการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ มาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก ในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ Porter ได้ตอกหน้าคนไทยไว้อย่างเจ็บปวดว่า
ประเทศไทยนั้น ถือได้ว่าเป็นผู้นำในระดับโลกในการวางแผน แต่ไม่ค่อยเก่งเท่าใดในการทำให้บรรลุเปาหมายที่วางไว้และเป็นไปตามแผน
ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูอย่างการสร้างสนามบินใหม่ของเรา ตั้งแต่เริ่มคิดสร้างสนามบินใหม่ จนถึงวันที่สร้างเสร็จ และสามารถใช้งานได้จริง เราใช้เวลารวมทั้งหมดกี่ปี? ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปหรือมาเลเซีย ซึ่งแม้ว่าจะเริ่มคิดทีหลังเรามาก แต่ของเขาเสร็จก่อนเราไม่นานแล้ว
พูดแล้ว รมณ์  บ่ จอย กลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า
ในการแก้ไขปัญหานี้ สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ เราไม่จำเป็นรอทุกอย่างพร้อมหรือสมบูรณ์ก่อนแล้วค่อยทำ สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องกล้าตัดสินใจ เมื่อข้อมูลหลักๆ สำหรับการตัดสินใจนั้นมีพร้อมอยู่แล้ว
คุณต้องกล้าเดินหน้า โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้มีข้อมูลที่พร้อมสมบูรณ์  100% เพราะเมื่อมีแผนและเครื่องไม้เครื่องมือพอสมควรแล้ว ก็รีบดำเนินการตามแผนไปก่อนเลย ไม่มัวแต่จดๆ จ้องๆ และที่สำคัญ คือ คุณไม่ควรวิตกต่ออนาคตมากจนเกินเหตุ ปัญหาบางอย่างที่พอที่จะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าอาจจะต้องเกิดขึ้นนั้น ก็ให้คิดเตรียมแผนสำรองเอาไว้ก่อน ส่วนปัญหาอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่คาดไม่ถึงนั้น ก็ต้องมีแน่นอนอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องรอไว้ก่อน จนเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็ค่อยๆ หาวิธีแก้ไขกันไป
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ เราต้องจมปลักกับ วงจรอุบาทว์ของการผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อยไป อย่างไม่จบสิ้น
ในการกระตุ้นให้เราแก้ไขนิสัยที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง วิธีหนึ่งที่ผู้เขียนใช้เตือนสติตัวเองอยู่บ่อยๆ คือ คำควัญของรองเท้า Nike ในเวอร์ชั่น 3 ภาษา (อังกฤษ-ไทย-ลาว) ดังนี้
Just Do It! ทำ (มัน) ไปเลย! เฮ็ดโลด!!!
 ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดอื่นต่อไป มีอีกเรื่องหนึ่งที่เราอยากบอกกับคุณด้วย คือ
อย่าเข่าใจผิดว่าการวางแผนทางการเงิน นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ในชีวิตของคนเราด้วย
แม้เป้าหมายที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุดจะยังคงเป็นเรื่องของตัวเงินเป็นหลัก แต่นั้นเป็นเพียงความมั่งคั่งในความหมายแคบ ซึ่งเกี่ยวพันกับความอยู่ดีกินดีทางด้านวัตถุ (material weii-being) เพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกายเป็นหลักเท่านั้น
เราต้องไม่ลืมว่าชีวิตของคนเรานั้น ยังมีเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางจิตใจ หรือจิตวิญญาณที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน หรืออาจจะมีความสำคัญกว่าด้วยซ้ำไป ถ้าคุณมีความเห็นว่าคนเรามิได้เกิดมาเพื่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว
พงษ์ ผาวิจิต ได้ให้ นิยามใหม่ของความมั่งคั่งไว้อย่างน่าสนใจว่า นอกเหนือไปจาก ความมั่งคั่งทางการเงิน(Financial Wealth) แล้ว คนเราควรจะมีความมั่งคั่งในด้านอื่นๆ ด้วยคือ
                                       —       ความมั่งคั่งทางปัญญา (Cognitive Wealth)
                                       —       ความมั่งคั่งทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative Wealth)
                                       —       ความมั่คั่งอันเนื่องจากสุขภาพที่สมบรณ์ (Physical Wealth)
                                       —       ความมั่งคั่งทางอารมณ์ (Mental Wealth)
                                       —       ความมั่งคั่งทางจิตวิญญาณ (Spiritual Wealth)
การตั้งเป้าหมายทางการเงินของเรา จึงควรพิจารณามิติด้านคุณภาพประกอบด้วย เพราะหลายๆ อย่างในชีวิตของเรา เงินซื้อไม่ได้ ดังที่มีผู้บางท่านเคยกล่าวไว้ว่า
Money may be the husk of many thing,but not the kernel.
It bring you foot, but not appetite;
Medicine, but not health;
Acquaintantances, but not friends;
Servants, but not faithfulness;
Days of joy, but not peace or happiness.
ทรัพสินเงินทองนั้นเป็นเพียงแค่เปลือก มิใช่แก่นสาร
มันอาจนำมาซึ่งข้าวปลา แต่มิใช่การเจริญอาหาร
มันอาจนำมาซึ่งยารักษาโรค แต่มิใช่สุภาพที่สมบูรณ์
มันอาจนำมาซึ่งความรู้จักมักคุ้น แต่ไม่ใช่มิตรภาพ
มันสามารถนำมาซึ่งผู้รับใช้ แต่ไม่ใช่ความซื่อสัตย์ภักดี
มันสามารถนำมาซึ่งเวลาแห่งความสนุกสนาน แต่ไม่ใช่ความสงบสุข
อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องระมัดระวังในการกำหนิดเป้าหมายต่างๆ ด้วย ก็คือ
จริงอยู่ ในตอนแรกตัวเราเป็นคนกำหนิดเป้าหมาย แต่หลังจากนั้น เป้าหมายเหล่านี้จะ ย้อนกลับ มามีอิทธิพลกับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดำเนินชีวิต นิสัย วิธีคิด บุคคล หรือแวดวงสังคมที่ชีวิตของเราเข้าปัยเกี่ยวข้องด้วย
หากไม่รู้เท่าทัน บางครั้งมันอาจทำให้เราหลงผิดได้ง่ายๆ เหมือนกับ “หนูถีบจักร” ที่ติดอยู่ในวงล้อที่หลอกล่อให้วิ่งไล่อาหาร หรือ “ สุนัขวิ่งแข่ง”ที่ไล่กระต่ายปลอมที่ถูกใช้เป็นเป้าล่อให้วิ่งไล่ตาม
ถ้าหากเป้าหมายที่เราต้องการมีเงินมากๆ หรืออยากรวยเร็วๆ มีอิทธิพลถึงขั้นที่ทำให้เราต้องเลือกทำงานในสิ่งเราไม่ชอบ หรือเลือกทำอาชีพที่เบียดเบียนหรือเป็นโทษต่อคนอื่น ตลอดจนการกระทำที่ผิดศีลธรรมจรรยาบรรณหรือผิดกฎหมายแล้วละก็
เราคงจะต้องตั้งคำถามกับตังเองเหมือนกันว่า เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายของตัวเราเอง หรือเป็นเป้าหมายที่เกิดจากคนรอบข้างของเรามาช่วยตั้งให้ หรือกำหนิดแทนให้เราหรือเปล่า? หรือเป็นเพียงเปาหมายที่เราสักแต่ว่าตั้งตามคนอื่นๆ เท่านั้น?
ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด เราจึงต้องจัดลำดับก่อนหลังว่า เป้าหมายใดที่มีความสำคัญมากกว่าเป้าหมายอื่น เพื่อจะได้ทราบว่าเราจะต้องตัดเป้าหมายใดบ้าง เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่มีความสำคัญมากกว่า
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การวางแผนทางการเงินมักจะแบ่งการกำหนิดเป้าหมายออกเป็น 2 อย่าง คือ (1) เป้าหมายระยะสั้น และ (2) เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายระยะสั้น
           หมายถึงความต้องการใช้เงินภายในระยะไม่เกิน 1 ปี ส่วนมากมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการใช้จ่ายชีวิตประจำวัน การออมเพื่อใช้ในยามที่จำเป็นหรือกรณีฉุกเฉิน การหาที่อยู่ชั่วคราว การซื้อสิ่งอำนวยควมสะดวกต่างๆ การเดินทางท่องเที่ยวหรือผักผ่อน
เป้าหมายระยะยาว
             หมายถึง ความต้องการใช้เงินในระยะที่เกิน 1 ปี ซึ่งอาจแบ่งเป็นความต้องการใช้เงอนในแต่ละช่วงเวลา
 เช่น 1-5 ปี 6-10 ปี 11-15 ปีข้างหน้า สำหรับคนในช่วงอายุ 30-40 ปี เป้าหมายระยะ 1-5 ปี มักจะเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงในชีวิต เช่น การเก็บเงินดาวน์ผ่อนบ้าน การซื้อรถยนต์ การแต่งงานมีครอบครัว การซื้อที่อยู่อาศัย การลงทุนทำธุรกิจ ส่วนเป้าหมายของการวางแผนทางการเงินในระยะยาวเกินกว่านั้น มักจะเกี่ยวกับการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว การท่องเที่ยว การวางแผนเกษียณอายุ
การตั้งเป้าหมายและวางแผนทางการเงินของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ด้วยแต่ละคนมีความฝันหรือความจำเป็นที่ไม่เหมือนกัน และมีสภาพแวดล้อมหรือค่านิยมที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนั้น อาจมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เป้าหมายหรือแผนของเราที่วางไว้ล่วงหน้าถูกกระทบได้ ดังนั้น แผนการเงินระยะยาวจึวควรจะมีการยืดหยุ่น (flexibility) พอสมควร ซึ่งควรเป็นการยึดหลัก “ทางสายกลาง”ที่ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป
ในบางครั้ง เราอาจจำเป็นต้องปรับลดเป้าหมายของเราลงไปบ้าง หรือเปลี่ยนเป้าหมายของเราให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตที่เราต้องการ
เราไม่ควรมองการบรรลุเป้าหมายในชีวิต เหมือนกับการวิ่งแข่งระยะสั้น (sprint) ที่นักกีฬาจะต้องรีดพลังทั้งหมดออกมาจากร่างกายทุกส่วน เพื่อให้วิ่งเข้าถึงเส้นชัยโดยเร็วที่สุด
ซึ้งดูเหมือนกับว่าเราจะมีความสุขอยู่เพียงจุดเดียว คือ จดที่เราผ่านเส้นชัย หรือจุดที่เราบรรลุเป้าหมายนั้นเท่านั้น
แต่ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนๆ แล้วว่า
ชีวิต คือ “การเดินทาง” (journey) มิใช่ “จุดหมาย”(destination)
ดังนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบชีวิตคนเรากับการวิ่งแข่ง ก็น่าจะเปรียบเทียบกับ การวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) มากกว่า จุดแตกต่างที่สำคัญ คือ เราไม่จำเป็นต้องโหมใช้พลังงานที่เรามีไปในช่วงหนึ่งทั้งหมด แต่ควรจะคิดว่าชีวิตเรานั้นยังต้องเดินทางอีกไกล ซึ่งทุกๆ กิโลเมตรที่เราวิ่งผ่านไปนั้น ต้องถือว่าเป็นความสำเร็จ
คนเรานั้นในบางครั้งอาจรู้สึก “ท้อ” บ้าง เมื่อเผชิญหน้ากับอุปสรรคบางอย่างที่เกิดขึ้น แต่จะต้องไม่ “ถอย” เพราะเป็นธรรมดาที่ชีวิตของคนเราจะต้องมีทั้งเหตุการณ์ ที่ผิดหวังและสมหวัง ที่สำคัญคือ ในห้วงยามแห่งความพ่ายแพ้นั้น คุณจะต้อง ศรัทธา ในตัวเอง และมองว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ และคุณต้องมีวินัย เพื่อที่จะ “เอาชนะตนเอง” และวิ่งไปให้ถึง เส้นชัยแห่งชีวิต ให้ได้!
เพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่ เราอยากแนะนำว่า คุณควรจะเขียนเป้าหมายทางการเงินเหล่านี้ของตัวเองเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ เพื่อที่คุณจะได้เห็นเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างรูปธรรม และเป็นสิ่งคอยกระตุ้นตัวคุณเองว่าได้มีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนิดไว้หรือไม่?
หากมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้น คุณจะได้หาทางออก และปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายเสียแต่เนิ่นๆ



อ้างอิง
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์             นภดล นันทาภิฒน์
ผู้เขียน                               นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์
                                          ประพิณ ลลิตภัทร
                                          ศศินี ลิ้มพงษ์
                                          หทัยชนก เตชะรัตนะวิโรจน์
อำนวยการผลิต                   ผาณิต เกิดโชคชัย ปนัดดา เพิ่มประโยชน์, กมลชนก  กัณห์วานิช
                                          ฝ่ายสื่อพิมพ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                                          62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
                                         โทร.0229-2038,2040-2041 โทรสาร 0-2654-5399
                                          http://WWW.set.or.th E-mail:                                                                                                     publication&mediadepartmant@set.or.th
พิมพ์ครั้งที่ 1                       ธันวาคม 2546 จำนวน 10,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 2                       มีนาคม 2547 จำนวน 10,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 3                       พฤษภาคม 2547 จำนวน 40,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 4                       พฤษภาคม 2548 จำนวน10,000 เล่ม ราคา 120 บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์
           รู้จักแผนที่นำทาง เล่ม 1 ชุด อยากรวย ต้องรู้ : เคล็ด(ไม่) ลับสู่...อิสราภาพทางการเงิน
            กรุงเทพฯ: ตลาดหนักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2557. 176 หน้า
            1. การเงินส่วนบุคคล .1. ประพิณ ลลิตภัทร, ศศินี ลิ้มพงษ์ ,หทัยชนก เตชะรัตนะวิโรจน์ ,ผู้แต่ง                รวม. 2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 3. ชื่อเรื่อง. 332.042 iSBN 974-91793-6-6
ภาพประกอบ                       หมอ ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์
ออกแบบ                              111475 บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้ง จำกัด
พิมพ์                                     22 ก.ค 2549 บริษัท อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน)
                                             65/16 ซอยวัดชัยพฤษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
                                             โทร. 0-2422-9000 โทรสาร 0-2433-2742,0-2434-1385
จัดจำหน่าย                           บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
                                              อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 46/87-90
                                              ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
                                              โทร. 0-2751-5888,0-2325-1111