อยากรวย ต้องรู้ รู้จักแผนที่นำทาง
เป้าหมาย และแผนการเงินส่วนบุคคล
การดำเนินชีวิตในสังคมไทยของเรานั้น
นับวันมีแต่ทวีความซ้อนมากขึ้น เรื่องที่คนส่วนมากคิดว่า “ ไกลตัว ”
เสียเหลือเกินในยุคสมัยหนึ่ง
ก็กลับกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลกับชีวิตของเรา
อย่างที่ส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยคาดคิดมาก่อน
คนที่ไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต
ปล่อยชีวิตให้เรื่อยเปื่อยไปตามกระแส หรือคนที่รู้แล้ว แต่ชะล่าใจ
ไม่ได้คิดที่เตรียมตัวเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ …
ก็จะต้องกลายเป็น “ กบแป๊ะ ” ไปในที่สุด !
วิธีเดียวที่คุณรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ก็คือ คุณจะต้องรู้จัก “
การวางแผนทางการเงิน” ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้ในแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
ๆ ดังนี้
“ การวางแผนการเงิน
คือ การที่คุณรู้จักวางแผนในเรื่อง
การเงินของตัวคุณและครอบครัวอย่างเหมาะสม ซึ่ง
เรื่องนี้จะเชื่อมโยงกันอีกหลายประเด็น ทั้งรายได้
รายจ่าย การออม การลงทุน ภาษี การจัดการเรื่องหนี้
สิน รวมถึงการรู้จักการเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีด้วย ”
ถ้าคุนเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้างก็คงพอจะทราบว่า
แนวโน้มหนึ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนอันเป็นผลพวงจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ก็คือ “ เงิน” จะต้องมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
ตัวอย่างของพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยเรานั้น ก็มีให้เห็นมากมาย
…
เมื่อก่อนนี้คนไทยส่วนใหญ่เคยใช้วิธีรองน้ำฝนใส่ตุ่มเอาไว้ดื่มกินได้ตลอดปีโดยไม่ต้องเสียสตางค์
มาถึงวันนี้ เรากลับต้องซื้อน้ำเปล่าบรรจุขวดที่ราคาแพงกว่าน้ำมันมาดื่มแทน
คนสมัยนี้มีสิ้นค้าและบริการที่อำนวยความสะดวกสบายและมีกิจกรรมที่ทำนอกบ้านมากขึ้น
เช่น ทำงาน กินอาหาร ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ผิดกับการใช้ชีวิตเมื่อก่อนนี้
ที่คนส่วนใหญ่เมื่อเลิกงานแล้ว ก็มักจะใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นหลัก
เดี๋ยวนี้ครอบครัวส่วนใหญ่ทั้งสามีภรรยาและลูกๆ
ต่างออกไปทำงานนอกบ้าน
ซึ้งหนีไม่พ้นต่างคนต้องมีพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเป็นของตนเอง (
ดังที่มีผู้เปรียบเทียบว่าเดี๋ยวนี้รถยนต์มีวามสำคัญถึงขนาดยกให้เป็น “ ปัจจัยที่ 5”
ในการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันถัดจากอาหารเครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคแล้ว ) จึงเป็นเรื่องธรรมดามากที่แต่ละบ้านมีรถยนต์มากกว่าครอบครัวละ
1 คัน ผิดกับสมัยก่อนที่แทบจะนับครัวเรือนที่มีรถยนต์ได้
คุณจะเห็นได้ว่า เกือบทุกเรื่องหนีไม่พ้นที่เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ “
เงิน” แทบทั้งนั้นเ
เมื่อพูดถึงเรื่องของการวางแผนการเงิน
ก่อนอื่นคุณจะต้องค้นหาความต้องการของตัวเอง และตอบกับตัวคุณเองให้ได้เสียก่อนว่า
คุณมีเป้าหมายอะไร?
ถ้ามองการวางแผนการเงินอย่างเป็นธุรกิจ เราก็อาจนำเอาวิธีการต่างๆ
ที่ใช้กันมากโดยเฉพาะในโลกตะวันตกในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางกิจบางอย่างประยุกต์ใช้ได้
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางแผนบางคนบอกว่า เป้าหมายที่ดีนั้นจะต้อง SMART ซึ้งอาจจะเป็นการสื่อเป็นนัยๆ
ว่าการกำหนดเป้าหมายนั้น ไม่ใช่เพียงแค่วักว่าทำๆ ไปเท่านั้น
แต่จะต้องกำหนดขึ้นอย่าง “
ชาญฉลาด ”ในที่นี้ ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งไปกว่าการแปลความแบบตรงตัวเช่นนั้น
ความจริงแล้ว มันคือ “ ลูกเล่น ”
ที่มาจากอักษรตัวแรกที่ใช้แทนคำย่อในภาษาอังกฤษของคุณลักษณะ 5 ประการของการกำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาด
ดังต่อไปนี้
มีความชัดเจน ( Specific
)
สามารถวัดได้( Measurable )
มีผู้รับผิดชอบ( Accountabie)
สามารถบรรลุผลได้( Realistic )
มีกำหนดเวลาแน่นอน( Time Bound )
เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจะขอยกตัวอย่างให้คุณเห็นว่า…เมื่อคนส่วนใหญ่ถูกตั้งคำถามว่ามีเป้าหมายอะไรบ้างในชีวิต?
ก็คงจะได้คำตอบไปต่างๆ
นานา
แต่คงไม่ผิดนัก ที่คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึง “ ความฝัน ”
ในลักษณะที่คล้ายๆกันทำนองนี้…
อยากเรียนจบสูงๆ
ได้งานดีๆ ได้เงินเดือนสูงๆ เป็นเจ้าคงนายคน
อยากมีรถยนต์คันหรู มีบ้าน/คอนโดมิเนียมสวยๆ
หรือมีบ้านหลังที่ 2 ไว้ ผักผ่อนในต่างจังหวัดสักแห่ง
อยากมีคู่ชีวิตที่จะแต่งงานไปชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์แบบและมีความสุข
อยากมีโอกาสเดินทางได้ไปผักผ่อน
หรือไปท่องเที่ยวบ่อยๆ
อยากส่งเสียให้ลูกๆ ได้มีการศึกษาสูงๆ และเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดีๆ
อยากมีเงินทองมากๆ ยิ่งรวยได้ ยิ่งดี
เพื่อที่จะได้เกษียณตั้งแต่อายุยังไม่มาก
ฯลฯ
ถ้าหากพิจารนณาเพียงแค่ผิวเผิน คุณคงจะไม่เห็นว่ามีอะไรที่ผิดปกติ
แต่สำหรับนักวางแผนแล้ว ถือว่าความคิดแบบนี้…
ยังไม่ใช่การกำหนิดเป้าหมายอย่างชาญฉลาด!
ถ้าคุณลองสังเกตดูใหม่อีกที ก็จะเห็นได้ว่า
เป้าหมายข้างต้นที่พูดถึงส่วนใหญ่นั้นยังขาดความชัดเจนในตัวเอง เพราะเป้าหมายต่างๆ
ที่พูดถึงเหล่านี้ยังมีความเป็นนามธรรม อยู่สูงมาก
การกำเนิดเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอที่คุณจะแปลงมันออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถวัดได้
มิฉะนั้น เป้าหมายต่างๆ เหล่านั้นมันจะยังคงเป็นเพียง “ ความฝัน ”
ที่ล่องลอยอยู่ในวิมาน ซึ่งยากจะทำให้มันกลายเป็น
“ ความจริง ”ขึ้นมาได้ เช่น
ที่ว่าอยากมีรถยนต์คันหรูและมีบ้านสวยๆ
นั้นก็ควรบอกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่น หรือแบบบ้านที่คุณได้ไปแอบด้อมๆ
มองๆ เอาไว้ด้วย
ที่ว่าอยากแต่งงานมีครอบครัวนั้นคุณควรไปถามว่าที่พ่อตาแม่ยายของคุณไว้ว่าต้องการสินสอดทองหมั้นอะไรบ้าง? จะจัดแต่งงานกันที่ไหน? อย่างไร?
ที่บอกว่าอยากให้ลูกๆ เรียนจบสูงๆ นั้น
คุณควรระบุให้ชัดเจนว่าคุณจะส่งเสียเขาไปจนจบถึงระดับปริญญาตรี โท หรือเอก
รวมทั้งควรระบุด้วยว่าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน?
ในประเทศหรือต่างประเทศ?
ที่บอกว่าอยากไปท่องเที่ยวนั้น
ก็ควรจะบอกให้ชัดเจนไว้เลยว่าคุณอยากจะไปเที่ยวที่ไหน?
อเมริกา ยุโรป เชียงใหม่ ภูเก็ต?
ส่วนที่บอกว่าอยากจะเกษียนตั้งแต่อายุยังไม่มากนั้น
คุณควรจะลองประมาณดูว่าครอบครัวคุณมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เดือนละเท่าได? จะมีรายได้เพื่อให้เพียงพอใช้จ่ายจากแหล่งไหนบ้าง ? และจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไร?
เพราะถ้าหากไม่มีการระบุรายละเอียดต่างๆ
ของเป้าหมายเหล่นานี้ออกมาให้ชัดเจน (Specifik) คุณคงไม่มีทางที่จะทราบได้ว่า…
การทำ “ ความฝัน ”
ดังกล่าวให้เป็นจริงต้องใช้งบประมาณเท่าใด (Measurable)
ใครที่จะเป็นคนรับผิดชอบภาระต่างๆ เหล่านี้ (Accountable)
“ ความฝัน ” เหล่านั้นอยูในวิสัยที่จะทำให้เป็น
“ ความจริง ”ได้หรือไม่? (Realistic) และที่สำคัญที่สุด
คือ…
คุณต้องระบุเงื่อนเวลาที่แน่นอนไว้ด้วยว่า
อยากให้ “ ความฝัน ” ต่างๆ
เหล่านั้นเป็น “ ความจริง ” เมื่อไร?
(Time Bound)
ความจริงแล้ว
ทุกคนต่างมีความฝันทำนองนี้ด้วยกันทั้งนั้น
แต่สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลว
ไม่สามารถสารความฝันของตนเองให้กลายเป็นจริงได้ก็เพราะ…
นิสัยที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งนั้นเอง!
เมื่อกลางปี 2546 รัฐบาลไทยเชิญศาสตราจารย์ Michael E. Porter ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกด้านการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
มาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก
ในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ Porter
ได้ตอกหน้าคนไทยไว้อย่างเจ็บปวดว่า…
“ ประเทศไทยนั้น
ถือได้ว่าเป็นผู้นำในระดับโลกในการวางแผน แต่ไม่ค่อยเก่งเท่าใดในการทำให้บรรลุเปาหมายที่วางไว้และเป็นไปตามแผน ”
ไม่ต้องดูอื่นไกล
ดูอย่างการสร้างสนามบินใหม่ของเรา ตั้งแต่เริ่มคิดสร้างสนามบินใหม่
จนถึงวันที่สร้างเสร็จ และสามารถใช้งานได้จริง เราใช้เวลารวมทั้งหมดกี่ปี?
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปหรือมาเลเซีย
ซึ่งแม้ว่าจะเริ่มคิดทีหลังเรามาก แต่ของเขาเสร็จก่อนเราไม่นานแล้ว
พูดแล้ว
รมณ์ บ่ จอย กลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า…
ในการแก้ไขปัญหานี้
สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ เราไม่จำเป็นรอทุกอย่างพร้อมหรือสมบูรณ์ก่อนแล้วค่อยทำ
สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องกล้าตัดสินใจ เมื่อข้อมูลหลักๆ
สำหรับการตัดสินใจนั้นมีพร้อมอยู่แล้ว
คุณต้องกล้าเดินหน้า
โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้มีข้อมูลที่พร้อมสมบูรณ์ 100% เพราะเมื่อมีแผนและเครื่องไม้เครื่องมือพอสมควรแล้ว
ก็รีบดำเนินการตามแผนไปก่อนเลย ไม่มัวแต่จดๆ จ้องๆ และที่สำคัญ คือ
คุณไม่ควรวิตกต่ออนาคตมากจนเกินเหตุ
ปัญหาบางอย่างที่พอที่จะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าอาจจะต้องเกิดขึ้นนั้น
ก็ให้คิดเตรียมแผนสำรองเอาไว้ก่อน ส่วนปัญหาอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่คาดไม่ถึงนั้น
ก็ต้องมีแน่นอนอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องรอไว้ก่อน จนเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็ค่อยๆ
หาวิธีแก้ไขกันไป
ถ้าไม่ทำอย่างนี้
เราต้องจมปลักกับ “วงจรอุบาทว์”ของการผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อยไป
อย่างไม่จบสิ้น
ในการกระตุ้นให้เราแก้ไขนิสัยที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง
วิธีหนึ่งที่ผู้เขียนใช้เตือนสติตัวเองอยู่บ่อยๆ คือ คำควัญของรองเท้า Nike ในเวอร์ชั่น 3 ภาษา
(อังกฤษ-ไทย-ลาว) ดังนี้
Just
Do It! ทำ (มัน) ไปเลย! เฮ็ดโลด!!!
ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดอื่นต่อไป
มีอีกเรื่องหนึ่งที่เราอยากบอกกับคุณด้วย คือ…
อย่าเข่าใจผิดว่า“ การวางแผนทางการเงิน” นั้น
เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ในชีวิตของคนเราด้วย
แม้เป้าหมายที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุดจะยังคงเป็นเรื่องของตัวเงินเป็นหลัก
แต่นั้นเป็นเพียงความมั่งคั่งในความหมายแคบ ซึ่งเกี่ยวพันกับความอยู่ดีกินดีทางด้านวัตถุ
(material weii-being) เพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกายเป็นหลักเท่านั้น
เราต้องไม่ลืมว่าชีวิตของคนเรานั้น
ยังมีเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางจิตใจ
หรือจิตวิญญาณที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน หรืออาจจะมีความสำคัญกว่าด้วยซ้ำไป
ถ้าคุณมีความเห็นว่าคนเรามิได้เกิดมาเพื่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว
พงษ์
ผาวิจิต ได้ให้ “นิยามใหม่ของความมั่งคั่ง” ไว้อย่างน่าสนใจว่า นอกเหนือไปจาก “ ความมั่งคั่งทางการเงิน” (Financial Wealth)
แล้ว คนเราควรจะมีความมั่งคั่งในด้านอื่นๆ ด้วยคือ
ความมั่งคั่งทางปัญญา (Cognitive Wealth)
ความมั่งคั่งทางความคิดสร้างสรรค์
(Creative Wealth)
ความมั่คั่งอันเนื่องจากสุขภาพที่สมบรณ์
(Physical Wealth)
ความมั่งคั่งทางอารมณ์
(Mental Wealth)
ความมั่งคั่งทางจิตวิญญาณ
(Spiritual Wealth)
การตั้งเป้าหมายทางการเงินของเรา
จึงควรพิจารณามิติด้านคุณภาพประกอบด้วย เพราะหลายๆ อย่างในชีวิตของเรา
เงินซื้อไม่ได้ ดังที่มีผู้บางท่านเคยกล่าวไว้ว่า
“ Money may be the husk of many thing,but not the
kernel.
It
bring you foot, but not appetite;
Medicine,
but not health;
Acquaintantances,
but not friends;
Servants,
but not faithfulness;
Days
of joy, but not peace or happiness.”
“ทรัพสินเงินทองนั้นเป็นเพียงแค่เปลือก
มิใช่แก่นสาร
มันอาจนำมาซึ่งข้าวปลา
แต่มิใช่การเจริญอาหาร
มันอาจนำมาซึ่งยารักษาโรค
แต่มิใช่สุภาพที่สมบูรณ์
มันอาจนำมาซึ่งความรู้จักมักคุ้น
แต่ไม่ใช่มิตรภาพ
มันสามารถนำมาซึ่งผู้รับใช้
แต่ไม่ใช่ความซื่อสัตย์ภักดี
มันสามารถนำมาซึ่งเวลาแห่งความสนุกสนาน
แต่ไม่ใช่ความสงบสุข”
อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องระมัดระวังในการกำหนิดเป้าหมายต่างๆ
ด้วย ก็คือ…
จริงอยู่
ในตอนแรกตัวเราเป็นคนกำหนิดเป้าหมาย แต่หลังจากนั้น เป้าหมายเหล่านี้จะ ย้อนกลับ
มามีอิทธิพลกับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดำเนินชีวิต นิสัย วิธีคิด บุคคล
หรือแวดวงสังคมที่ชีวิตของเราเข้าปัยเกี่ยวข้องด้วย
หากไม่รู้เท่าทัน
บางครั้งมันอาจทำให้เราหลงผิดได้ง่ายๆ เหมือนกับ “หนูถีบจักร”
ที่ติดอยู่ในวงล้อที่หลอกล่อให้วิ่งไล่อาหาร หรือ “
สุนัขวิ่งแข่ง”ที่ไล่กระต่ายปลอมที่ถูกใช้เป็นเป้าล่อให้วิ่งไล่ตาม
ถ้าหากเป้าหมายที่เราต้องการมีเงินมากๆ
หรืออยากรวยเร็วๆ มีอิทธิพลถึงขั้นที่ทำให้เราต้องเลือกทำงานในสิ่งเราไม่ชอบ
หรือเลือกทำอาชีพที่เบียดเบียนหรือเป็นโทษต่อคนอื่น ตลอดจนการกระทำที่ผิดศีลธรรมจรรยาบรรณหรือผิดกฎหมายแล้วละก็…
เราคงจะต้องตั้งคำถามกับตังเองเหมือนกันว่า
เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายของตัวเราเอง
หรือเป็นเป้าหมายที่เกิดจากคนรอบข้างของเรามาช่วยตั้งให้
หรือกำหนิดแทนให้เราหรือเปล่า?
หรือเป็นเพียงเปาหมายที่เราสักแต่ว่าตั้งตามคนอื่นๆ เท่านั้น?
ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด
เราจึงต้องจัดลำดับก่อนหลังว่า เป้าหมายใดที่มีความสำคัญมากกว่าเป้าหมายอื่น
เพื่อจะได้ทราบว่าเราจะต้องตัดเป้าหมายใดบ้าง
เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่มีความสำคัญมากกว่า
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
การวางแผนทางการเงินมักจะแบ่งการกำหนิดเป้าหมายออกเป็น 2 อย่าง คือ (1)
เป้าหมายระยะสั้น และ (2) เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายระยะสั้น
หมายถึงความต้องการใช้เงินภายในระยะไม่เกิน 1 ปี
ส่วนมากมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการใช้จ่ายชีวิตประจำวัน
การออมเพื่อใช้ในยามที่จำเป็นหรือกรณีฉุกเฉิน การหาที่อยู่ชั่วคราว
การซื้อสิ่งอำนวยควมสะดวกต่างๆ การเดินทางท่องเที่ยวหรือผักผ่อน
เป้าหมายระยะยาว
หมายถึง ความต้องการใช้เงินในระยะที่เกิน
1 ปี
ซึ่งอาจแบ่งเป็นความต้องการใช้เงอนในแต่ละช่วงเวลา
เช่น 1-5
ปี 6-10 ปี 11-15 ปีข้างหน้า สำหรับคนในช่วงอายุ 30-40 ปี เป้าหมายระยะ
1-5 ปี มักจะเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงในชีวิต เช่น
การเก็บเงินดาวน์ผ่อนบ้าน การซื้อรถยนต์ การแต่งงานมีครอบครัว การซื้อที่อยู่อาศัย
การลงทุนทำธุรกิจ ส่วนเป้าหมายของการวางแผนทางการเงินในระยะยาวเกินกว่านั้น
มักจะเกี่ยวกับการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว การท่องเที่ยว
การวางแผนเกษียณอายุ
การตั้งเป้าหมายและวางแผนทางการเงินของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ด้วยแต่ละคนมีความฝันหรือความจำเป็นที่ไม่เหมือนกัน
และมีสภาพแวดล้อมหรือค่านิยมที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม
ในระยะยาวนั้น อาจมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เป้าหมายหรือแผนของเราที่วางไว้ล่วงหน้าถูกกระทบได้
ดังนั้น แผนการเงินระยะยาวจึวควรจะมีการยืดหยุ่น (flexibility) พอสมควร
ซึ่งควรเป็นการยึดหลัก “ทางสายกลาง”ที่ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป
ในบางครั้ง
เราอาจจำเป็นต้องปรับลดเป้าหมายของเราลงไปบ้าง
หรือเปลี่ยนเป้าหมายของเราให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตที่เราต้องการ
เราไม่ควรมองการบรรลุเป้าหมายในชีวิต
เหมือนกับการวิ่งแข่งระยะสั้น (sprint)
ที่นักกีฬาจะต้องรีดพลังทั้งหมดออกมาจากร่างกายทุกส่วน
เพื่อให้วิ่งเข้าถึงเส้นชัยโดยเร็วที่สุด
ซึ้งดูเหมือนกับว่า…เราจะมีความสุขอยู่เพียงจุดเดียว
คือ จดที่เราผ่านเส้นชัย หรือจุดที่เราบรรลุเป้าหมายนั้นเท่านั้น
แต่ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนๆ
แล้วว่า
ชีวิต
คือ “การเดินทาง” (journey) มิใช่ “จุดหมาย”(destination)
ดังนั้น
ถ้าจะเปรียบเทียบชีวิตคนเรากับการวิ่งแข่ง ก็น่าจะเปรียบเทียบกับ
การวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) มากกว่า จุดแตกต่างที่สำคัญ คือ
เราไม่จำเป็นต้องโหมใช้พลังงานที่เรามีไปในช่วงหนึ่งทั้งหมด
แต่ควรจะคิดว่าชีวิตเรานั้นยังต้องเดินทางอีกไกล ซึ่งทุกๆ
กิโลเมตรที่เราวิ่งผ่านไปนั้น ต้องถือว่าเป็นความสำเร็จ
คนเรานั้นในบางครั้งอาจรู้สึก
“ท้อ”
บ้าง เมื่อเผชิญหน้ากับอุปสรรคบางอย่างที่เกิดขึ้น แต่จะต้องไม่ “ถอย”
เพราะเป็นธรรมดาที่ชีวิตของคนเราจะต้องมีทั้งเหตุการณ์ ที่ผิดหวังและสมหวัง
ที่สำคัญคือ ในห้วงยามแห่งความพ่ายแพ้นั้น คุณจะต้อง ศรัทธา ในตัวเอง
และมองว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ และคุณต้องมีวินัย เพื่อที่จะ “เอาชนะตนเอง” และวิ่งไปให้ถึง เส้นชัยแห่งชีวิต ให้ได้!
เพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่
เราอยากแนะนำว่า
คุณควรจะเขียนเป้าหมายทางการเงินเหล่านี้ของตัวเองเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
เพื่อที่คุณจะได้เห็นเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างรูปธรรม
และเป็นสิ่งคอยกระตุ้นตัวคุณเองว่าได้มีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนิดไว้หรือไม่?
หากมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้น
คุณจะได้หาทางออก และปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายเสียแต่เนิ่นๆ
อ้างอิง
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นภดล นันทาภิฒน์
ผู้เขียน นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์
ประพิณ ลลิตภัทร
ศศินี ลิ้มพงษ์
หทัยชนก เตชะรัตนะวิโรจน์
อำนวยการผลิต ผาณิต เกิดโชคชัย , ปนัดดา เพิ่มประโยชน์, กมลชนก กัณห์วานิช
ฝ่ายสื่อพิมพ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร.0229-2038,2040-2041 โทรสาร 0-2654-5399
http://WWW.set.or.th E-mail: publication&mediadepartmant@set.or.th
พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2546 จำนวน 10,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2547 จำนวน 10,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2547 จำนวน 40,000 เล่ม ราคา 120 บาท
พิมพ์ครั้งที่ 4 พฤษภาคม 2548 จำนวน10,000 เล่ม ราคา 120 บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์
รู้จักแผนที่นำทาง เล่ม 1 ชุด อยากรวย ต้องรู้ : เคล็ด(ไม่) ลับสู่...อิสราภาพทางการเงิน
กรุงเทพฯ: ตลาดหนักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2557. 176 หน้า
1. การเงินส่วนบุคคล .1. ประพิณ ลลิตภัทร, ศศินี ลิ้มพงษ์ ,หทัยชนก เตชะรัตนะวิโรจน์ ,ผู้แต่ง รวม. 2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 3. ชื่อเรื่อง. 332.042 iSBN 974-91793-6-6
นำชัย เตชะรัตนะวิโรจน์
รู้จักแผนที่นำทาง เล่ม 1 ชุด อยากรวย ต้องรู้ : เคล็ด(ไม่) ลับสู่...อิสราภาพทางการเงิน
กรุงเทพฯ: ตลาดหนักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2557. 176 หน้า
1. การเงินส่วนบุคคล .1. ประพิณ ลลิตภัทร, ศศินี ลิ้มพงษ์ ,หทัยชนก เตชะรัตนะวิโรจน์ ,ผู้แต่ง รวม. 2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 3. ชื่อเรื่อง. 332.042 iSBN 974-91793-6-6
ภาพประกอบ หมอ ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์
ออกแบบ 111475 บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้ง จำกัด
พิมพ์ 22 ก.ค 2549 บริษัท อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน)
65/16 ซอยวัดชัยพฤษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทร. 0-2422-9000 โทรสาร 0-2433-2742,0-2434-1385
จัดจำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 46/87-90
ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2751-5888,0-2325-1111
ออกแบบ 111475 บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้ง จำกัด
พิมพ์ 22 ก.ค 2549 บริษัท อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน)
65/16 ซอยวัดชัยพฤษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทร. 0-2422-9000 โทรสาร 0-2433-2742,0-2434-1385
จัดจำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 46/87-90
ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2751-5888,0-2325-1111